วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ชนเผ่ากะเลิง

ชนเผ่ากะเลิง

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ   ชนเผ่ากะเลิง

            ชนเผ่ากะเลิง เป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งในหลาย ๆ กลุ่มที่อาศัยอยู่ในจังหวัดสกลนคร มีประวัติความเป็นมา การเลือกหลักแหล่งทำมาหากิน วัฒนธรรม ความเชื่อ ตลอดจนภาษาพูดที่มีสำเนียงหรือถ้อยคำที่นิยมใช้กันเฉพาะในกลุ่มของตน ชนเผ่ากะเลิง เป็นกลุ่มที่ชอบอาศัยอยู่ในพื้นที่ราบสูง ตามไหล่เขาและเมื่อกลุ่มกะเลิงลงมาอยู่พื้นที่ราบปะปนกับโย้ย ญ้อ ทำให้เกิดการรับวัฒนธรรมภาษาพูดในกลุ่มไทย-ลาวชนเผ่ากะเลิง ก่อนจะอพยพมาอยู่ในเขตจังหวัดสกลนคร อาศัยอยู่ในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขง จากการสันนิษฐานของนักวิชาการ กล่าวไว้ว่า ชาวจีนเขียนไว้ว่า คุณลุน หรือกุรุง จนเพี้ยนเป็น กะลุง ในภาษาจาม

           เมื่อชาวเขมรมาตั้งถิ่นฐานอยู่ตอนเหนือของเวียดนาม ได้ยืมคำนี้มาจากพวกจาม แหล่งที่อยู่ของชาวกะเลิงไม่ห่างจากเมืองเง่อานในบริเวณเทือกเขาจากทางทิศตะวันตก และคณะสำรวจดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง นำโดย ร.อ.เดอมาเกลฟ ได้กล่าวถึงถิ่นที่อยู่ของชนเผ่ากะเลิงว่าอยู่ที่ลุ่มแม่น้ำตะโปน และบริเวณต้นน้ำเซบังเหียนชนเผ่ากะเลิงเป็นผู้ที่รักความสงบชนเผ่ากะเลิงในเขตจังหวัดสกลนคร เป็นที่ยอมรับกันว่าได้อพยพมาจากดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง อพยพข้ามมาหลายครั้ง นับตั้งแต่การปราบปรามเจ้าอนุวงศ์แห่งเมืองเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในสมัยรัชกาลที่ 3 และอพยพครั้งใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อครั้งเกิดกบฎจีนฮ่อ ที่ยกกำลังเข้ามาตีเมืองเชียงขวาง ชุมนุมพลอยู่ที่ทุ่งเชียงคำ เตรียมยกเข้าตีหัวเมืองริมฝั่งแม่น้ำโขง เมืองที่อยู่ในการปกครองของไทย คือเมืองหลวงพระบาง ก็ถูกคุกคามจากพวกฮ่อเช่นกัน ทำให้ไทยต้องยกกำลังไปปราบฮ่อ หลายครั้ง พร้อมทั้งส่งแม่ทัพนายกองเกณฑ์ทหารจากหัวเมืองต่าง ๆ ในภาคอีสาน ไปช่วยปราบฮ่อด้วย เมืองสกลนคร ถูกเกณฑ์ช้าง 25 เชือก โคต่าง 100 ตัว ข้าวสาร 300 ถัง กำลังพล 1,000 คน โดยมีอุปฮาด (โง่นคำ) กับราชวงศ์ (ฟอง) เป็นนายกองสะเบียงยกไป การทำศึกกับฮ่อหลายครั้ง ทำให้ผู้คนที่อยู่ตามเมืองต่าง ๆ เดือดร้อน วิตกกังวลถึงอันตรายที่เกิดขึ้น จึงได้มีการอพยพติดตามแม่ทัพนายกองเข้ามาอยู่ในเมืองต่าง ๆ โดยเฉพาะหมู่บ้านชนเผ่ากะเลิงในบริเวณใกล้ ๆ ตัวเมืองสกลนคร เช่น บ้านนายอ บ้านนามน บ้านโพนงาม ที่มีชนเผ่ากะเลิงอยู่เป็นจำนวนมาก เป็นชนเผ่ากะเลิงที่อพยพมาจากเมืองภูวานากะแด้ง ในสมัยพระยาประจันตประเทศธานี (โง่นคำ) ต่อมามีผู้นำชาวกะเลิงที่สมัครใจอพยพขึ้นไปตั้งหลักแหล่งบนเทือกเขาภูพาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแถบบ้านบัว อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร ซึ่งไม่ปรากฎหลักฐานว่า เริ่มตั้งหลักแหล่งเมื่อใด แต่สันนิษฐานว่า ชาวกะเลิงอพยพมาอยู่ประมาณ 150 ปีมาแล้วต่อมาในปี พ.ศ. 2460 ได้เกิดโรคระบาดที่เรียนว่า โรคห่าอย่างรุนแรง มีผู้คนเสียชีวิตจำนวนมาก จึงมีการอพยพหนีโรคร้ายบางกลุ่มไปตั้งหลักแหล่งอยู่ที่บ้านเหล่า ซึ่งอยู่ห่างจากบ้านบัวประมาณ 1 กิโลเมตรสำหรับบ้านบัวเป็นสถานที่แห่งแรกตั้งหมู่บ้านอยู่ริมห้วยทราย และมีหนองน้ำขนาดใหญ่มีกอบัว ดอกบัวบานสะพรั่ง ชาวบ้านจึงเรียกว่า บ้านบัวห้วยทราย แต่ต่อมาทางราชการเรียกว่า บ้านบัว เพื่อให้คำเรียกชื่อหมู่บ้านกระทัดรัด แสดงความสำคัญของหนองบัวในหมู่บ้านชาวกะเลิง มีลักษณะรูปร่างเตี้ย ผิวคล้ำ เป็นคนซื่อ ๆ ชอบสนุก และชอบอยู่ตามป่า ตามเขา หาอาหารโดยการล่าสัตว์ หญิงชาวกะเลิง เป็นคนขี้อาย แต่แข็งแรงอดทน
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ   ชนเผ่ากะเลิง
            ประเพณีการแต่งกายของชาวกะเลิง แต่งกายด้วยเสื้อผ้าย้อมครามทอมือ เย็บด้วยมือ ชาวกะเลิง มีวัฒนธรรมการแต่งกาย ดังนี้

ผ้าซิ่น ใช้ด้าย 2 เส้นมาทำเกลียวควบกัน ใช้ทั้งผ้าฝ้ายธรรมดาและผ้าไหม เป็นผ้าตีนเต๊าะ แต่มีเชิงแถบเล็ก ๆ แคบ 2 นิ้ว นิยมสีเปลีอกอ้อย เข็นด้วยด้ายสีแดง เหลืองเป็นสายเล็ก ๆ นอกจากนี้ยังนิยมใช้ผ้าฝ้ายเข็น 2 เส้นควบกัน เช่น แดงควบเหลือง น้ำเงินควบขาว เขียวควบเหลือง ถ้าไม่ใช่เป็นผ้าตีนเต๊าะมักนุ่งสั้น
เสื้อ กะเลิงนิยมแต่งตัวกะทัดรัด เช่น ถ้านุ่งซิ่นผ้าฝ้ายสั้น มักใช้ผ้าทอพื้นบ้าน เป็นตาสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ คาดอก โพกผ้าบนศีรษะ สะพายกะหยัง ขึ้นภูเก็บผักเก็บหญ้าส่วนกะเลิง ที่นุ่งซิ่นยาวคลุมเข่ามักสวนเครื่องประดับ เช่น สร้อยข้อมือทำด้วยรัตนชาติ หรือดินเผา ใส่ต่างหูเป็นห่วงกลม เสื้อแขนยาวสีขาวเหลืองเก็บชายเสื้อคาดเข็มขัดเงิน เป็นชุดที่ใช้ในงานมงคลต่าง ๆ นับเป็นเครื่องแต่งกายที่งดงามที่สุดของชาวเผ่ากะเลิงวัยหนุ่มสาว ส่วนกะเลิงสูงอายุ มักนุ่งซิ่นลายดำ ขาว แดง สวมเสื้อแขนกระบอกย้อมคราม ที่สาบเสื้อมีเหรียญสตางค์แดงติดเป็นแนวกระดุม เกล้าผมสูง

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ   ชนเผ่ากะเลิง



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น