วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ชาวไทโย้ย

ชาวไทโย้ย

ประวัติศาสตร์กลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทโย้ย


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ    ชนเผ่าโย้ย

           ชาวโย้ยเป็นกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มหนึ่งในจังหวัดสกลนคร ตั้งบ้านเรือนอยู่เป็นชุมชนใหญ่ในเขตอำเภอวารนรนิวาสและอำเภออากาศอำนวย ในกลุ่มชาวไทโย้ยนี้เป็นกลุ่มที่มีความขยันหมั่นเพียรในการทำงาน มีความเป็นอยู่ในการดำเนินชีวิตอย่างมัธยัสถ์และสมถะ มีรูปแบบแนวทางวัฒนธรรมเป็นของตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษาพูดในกลุ่มของตนและยังมีการเรียนรู้และใช้ภาษาไทยลาว ภาษาไทยกลางในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น หรือในระบบราชการชาวไทโย้ยส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ทำให้มีอิทธิพลต่อกรอบการดำเนินชีวิตและทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในความเป็นอยู่และเกิดการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรม ซึ่งชาวไทโย้ยในอากาศอำนวยยังคงลักษณะเด่นเป็นเอกลัษณ์และคุณลักษณะต่างๆของชาติพันธุ์เดิมที่ได้รับสืบทอดมาดังนี้

            1. ชาวไทโย้ยบ้านอากาศอำนวยมีความเป็นอยู่อย่างมัธยัสถ์และสมถะ เรียบง่าย มีความพอใจในความเป็นอยู่ของตนเอง
            2. ชาวไทโย้ยรักษาเอกลัษณ์ของกลุ่มตนได้อย่างดี เช่น มีการพูดภาษาไทโย้ยภายในครอบครัวและในหมู่บ้านและมีประเพณีการละเล่นเป็นของตนเอง เช่น พิธีไหลห้านบูชาไฟ การละเล่น โย้ยกลองเลง เป็นต้น
            3. ชาวไทโย้ยมีความขยันอดทนในการทำงาน เช่น ทำนา ทำไร่ และการทอผ้าซึ่งปัจจุบันได้รับการส่งเสริมให้มีกลุ่มทอผ้าที่มีฝีมือ จนกลายเป็นสินค้าส่งไปจำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศในปัจจุบัน
            4. ชาวไทโย้ยมีความรักความสามัคคีมีน้ำใจดี เคารพผู้อาวุโสและจะไม่ทะเลาะวิวาทกัน
            5. ชาวไทโย้ยเชื่อมั่นศรัทธาในศาสนาจะสังเกตจากจำนวนวัดซึ่งมีถึง 6 วัด คือ วัดอุมรัตนาราม วัดจอมแจ้ง วัดกลางพระแก้ว วัดทุ่ง วัดไตรภูมิ และวัดศรีโพนเมือง ตอนเช้าชาวบ้านจะทำบุญตักบาตรหรือไปทำบุญที่วัด แต่ในฤดูแล้งหนุ่มสาวชาวบ้านส่วนใหญ่ที่ไปทำงานกรุงเทพฯจะนำกฐินหรือผ้าป่ามาทอดถวายวัด ได้เงินมาเป็นทุนพัฒนาหมู่บ้านและวัดเป็นประจำทุกปี สภาพทั่วไปของชุมชนชาวโย้ย อำเภออากาศอำนวยเดิมเป็นหมู่บ้านตั้งอยู่ระหว่างเขตจังหวัดนครพนมและจังหวัดสกลนคร ชื่อว่าบ้านม่วงริมยามเพราะมีลำน้ำยามไหลผ่าน พื้นที่ดินอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูกจึงราษฎรจากที่อื่นอพยพมาอาศัยอยู่บริเวณนี้เป็นจำนวนมาก ทำให้บ้านม่วงริมยามมีความเจริญมากขึ้น ดังนั้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดกระหม่อมให้ยกบ้านม่วงริมยามเป็นเมืองขนานนามใหม่ว่าเมืองอากาศอำนวย โดยพระบรมราชโองการแต่งตั้งท้าวศรีสุราชเป็นผู้ครองเมืองอากาศอำนวยจึงมีฐานะเป็นเมืองขึ้นกับจังหวัดนครพนมเป็นเวลานาน 70 ปี ต่อมาพุทธศักราช 2428 ได้มีการปฏิรูปการปกครองหัวเมืองใหม่ เทศาภิบาลเมืองอุดรธานีได้มาตรวจราชการที่อำเภออากาศอำนวยเห็นว่าการคมนาคมและการติดต่อไปมากับจังหวัดนครพนมไม่สะดวก จึงได้เสนอขอเปลี่ยนแปลงเขตการปกครองใหม่ โดยยุบอำเภออากาศอำนวยเป็นตำบลและให้ขึ้นอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร ต่อมาปีพุทธศักราช 2506 จอมพลสฤษดิ์ ธนรัชต์ นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้นได้มาตรวจราชการที่ภาคอีสานและได้มาตรวจเยี่ยมที่ตำบลอากาศอำนวยได้พิจารณาเห็นว่าตำบลอากาศอำนวยรวมทั้งตำบลวาใหญ่ ตำบลโพนแพง ตำบลโพนงาม รวม4 ตำบลนี้ตั้งอยู่ห่างจากอำเภอวานรนิวาสมาก การติดต่อของราษฎรตำบลหนึ่งๆกับที่ว่าการอำเภอไม่สะดวกรวดเร็วและไม่สะดวกต่อการปกครองอีกดด้วย ทั้ง 4 ตำบลนี้มีบ้านเรือนของราษฎร หนาแน่นพอที่จะจัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอขึ้นได้และประการสำคัญที่สุดเป็นท้องที่ที่มีผู้ก่อการร้ายแทรกซึมและเผยแพร่ลัทธิอยู่เป็นจำนวนมาก สมควรที่เจ้าหน้าที่บ้านเมืองจะได้ออกไปดูแลควบคุมป้องกันอย่างใกล้ชิด จึงได้ยกฐานะขึ้นเป็นกิ่งอำเภออากาศอำนวยขึ้นกับอำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2506 และต่อมาเมื่อมีความเจริญมากยิ่งขึ้นได้ยกฐานะจากกิ่งอำเภอเป็นอำเภออากาศอำนวย เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2508 จนถึงปัจจุบัน กล่าวโดยสรุปจะเห็นได้ว่าชุมชนอากาศอำนวยแม้จะกำเนิดที่บ้านม่วงริมยาม แต่ชาวไทโย้ยส่วนหนึ่งก็ได้มีการเคลื่อนย้ายไปอยู่ในแหล่งอื่นๆมาโดยตลอดเส้นทางในการเคลื่อนย้ายจะไม่ห่างจากกลุ่มน้ำยามในบริเวณลุ่มน้ำสงครามซึ่งถือว่าเป็นบริเวณใหญ่ครอบคลุมพื้นที่ดังกล่าวและมีการนำชื่ออากาศอำนวยมาเป็นชื่อกิ่งอำเภอหลายครั้งแสดงความผูกพันกับประวัติศาสตร์การตั้งหลักแหล่งครั้งแรกทำให้ชื่อกิ่งอำเภอแห่งนี้ปรากฏทั้งในเขตจังหวัดนครพนมและจังหวัดสกลนครในปัจจุบันซึ่งครองคลุมพื้นที่ลุ่มน้ำสงคราม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น